บริการอิเล็กทรอนิกเมล (Electronic Mail Service)

อิเล็กทรอนิกเมล (Electronic Mail) หรือจดหมายอิเล็กทรอนิก หรือเรียกย่อๆ ว่า อีเมล (E-Mail) เป็นบริการพื้นฐานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สำหรับหน่วยงานหรือบุคลากรในองค์กรเพื่อการติดต่อสื่อสาร  ทั้งระหว่างบุคลากรภายในองค์กร และหน่วยงานหรือบุคคลอื่นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตบริการอีเมลใน มทร.อีสาน เป็นบริการเฉพาะ มีไว้เพื่อบริการแก่หน่วยงาน บุคลากรและนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเท่านั้น โดยหน่วยงานหรือบุคคลดังกล่าวสามารถใช้บริการด้วยการมีบัญชีสมาชิกอินเทอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยการสมัครเพื่อขอรับบัญชีสมาชิกอินเทอร์เน็ต สามารถดำเนินการแบบออนไลน์บนเว็บไซด์ ระบบจัดการบัญชีสมาชิกอินเทอร์เน็ต (www.rmuti.ac.th/network/services)

รูปแบบการให้บริการ

บริการอีเมลใน มทร.อีสาน มีรูปแบบการให้บริการตามรูปแบบการใช้บริการ ๒ รูปแบบคือ

  1. บริการอีเมลเฉพาะบุคคล
  2. บริการอีเมลสำหรับหน่วยงาน

บริการอีเมลเฉพาะบุคคล

พื้นฐานการใช้บริการอีเมล เป็นการบริการเฉพาะบุคคล หรือในที่นี้หมายถึงบริการที่มีให้สำหรับบุคลากรหรือนักศึกษาแต่ละคน มทร.อีสาน มีการบริการอีเมลแต่บุคลากรและนักศึกษา ใน 2 รูปแบบ ที่มีวิธีการใช้และรูปแบบการเข้าใช้บริการที่ต่างกัน สามารถศึกษาวิธีการใช้งานได้จากรายการดังนี้ คือ

ข้อกำหนดของการบริการเฉพาะบุคคล

ด้วยข้อจำกัดของทรัพยากรและการจัดการด้านความปลอดภัยของเครือข่าย จึงจำเป็นต้องจำกัดการให้บริการอีเมลดังรายการต่อไปนี้

  • การจำกัดพื้นที่เก็บอีเมล: ความจุของพื่นที่บันทึกอีเมลจะจำกัดตามประเภทของบุคลากรหรือนักศึกษา โดยมีรายละเอียดคือ
    • อาจารย์/เจ้าหน้าที่ มีความจุพื้นฐานที่ 50 MBytes
    • นักศึกษา มีความจุพื้นฐานที่ 20 MBytes

ทั้งนี้พื้นที่ทีจำกัดดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงเมื่อขนาดพื้นที่จัดเก็บอีเมลของระบบมีเพิ่มขึ้น หรือได้รับการร้องขออย่างเป็นทางการ

บริการอีเมลสำหรับหน่วยงาน

เป็นบริการที่หน่วยงานใดๆ ต้องการที่อยู่อีเมลกลางของหน่วยงานนั้นๆ หรือกล่าวได้ว่าเป็นที่อยู่ที่ผู้ส่งต้องการส่งถึงตัวหน่วยงาน ไม่ใช่ตัวบุคคลในหน่วยงาน

ความต้องการพื้นฐานของบริการ

  1. ที่อยู่อีเมลภายใต้ระบบที่อยู่อีเมลของมหาวิทยาลัยที่บ่งชี้ว่าเป็นหน่วยงานนั้นๆ เช่น oarit@rmuti.ac.th สำหรับ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
  2. บุคคลผู้รับผิดชอบอีเมลของหน่วยงาน มีหน้าที่เป็นผู้รับอีเมลที่ส่งถึงที่อยู่อีเมลหน่วยงานนั้นๆ โดยมีข้อบังคับว่า
    • บุคคลเหล่านั้นต้องเป็นหรือมีบัญชีสมาชิกอินเทอร์เน็ตของมหาวิทยาลัย (สมัครขอรับบัญชีสมาชิกอินเทอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยได้ที่ ระบบจัดการบัญชีสมาชิกอินเทอร์เน็ต)
    • บุคคลเหล่านั้นต้องได้รับการแต่งตั้ง หรือยินยอมจากหัวหน้าหน่วยงาน เพื่อรับผิดชอบต่อการรับอีเมลหรือส่งอีเมลโดยใช้ที่อยู่อีเมลของหน่วยงานเป็นที่อยู่ผู้ส่ง
  3. หน่วยงานสามารถขอมีที่อยู่อีเมลได้โดยดาวน์โหลด แบบฟอร์มขอมีที่อยู่อีเมลของหน่วยงาน  กรอกข้อมูลในแบบฟอร์มและส่งไปยัง ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่องานวิชาการ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อดำเนินการต่อไป

ลักษณะการทำงานและการใช้บริการของระบบ

การทำงานและการใช้บริการอีเมลของหน่วยงาน มีจุดสำคัญอยู่ในขั้นการรับอีเมล ดังนั้นจะขออธิบายวิธีการทำงานของระบบในขั้นตอนของการรับอีเมล แบบกระชับดังนี้

  1. เมื่อผู้ส่งจากภายนอก(หรือภายใน) ส่งเมลมายังปลายทางอีเมลของหน่วยงาน อีเมลดังกล่าวจะถูกสำเนาไปยังผู้รับที่ถูกกำหนดโดยหน่วยงาน โดยหากหน่วยงานแต่งตั้งผู้รับหลายคนระบบจะสำเนาไปยังผู้รับเหล่านั้นทุกคน และกลายเป็นอีเมลเฉพาะของผู้รับนั้นๆ โดยไม่มีผลต่อกัน
  2. ผู้รับผิดชอบอีเมลเข้าถึงอีเมลของหน่วยงานได้เช่นเดียวกับการเข้าถึงอีเมลส่วนบุคคล คือเข้าใช้บริการระบบด้วยบัญชีสมาชิก/รหัสผ่านส่วนบุคคล และจะพบว่าได้รับอีเมลของหน่วยงานมาถึงบุคคลเหล่านั้น
  3. หากบุคคลผู้รับผิดชอบอีเมลหน่วยงาน ต้องการส่งอีเมลโดยระบุผู้ส่งเป็นที่อยู่ของหน่วยงาน สามารถทำได้ โดยอาศัยความสามารถของโปรแกรมบริการอีเมล ทั้งนี้มักอยู่ในการกำหนดคุณสมบัติของโปรแกรมนั้นๆ เช่น การกำหนดตัวตนของผู้ใช้ (Identity)

ข้อชี้แจงอื่น

  • ที่อยู่อีเมลของหน่วยงานเป็นเพียงที่อยู่สำหรับรับอีเมลเท่านั้น ที่อยู่ดังกล่าวไม่มีตัวตนอยู่ในระบบบัญชีสมาชิก
  • การบอกรหัสบัญชีสมาชิกส่วนบุคคลของผู้รับผิดชอบให้บุคคลอื่นทราบ จะหมายถึงเปิดโอกาสให้บุคคลอื่นที่ไม่ได้รับผิดชอบนั้น เข้าถึงข้อมูลอีเมลของหน่วยงาน อันอาจเป็นข้อมูลสำคัญของหน่วยงาน